Magnetic Resonance Imaging (MRI) รพ. กรุงเทพอุดร

Magnetic Resonance Imaging (MRI)

 

 

เอ็มอาร์ไอ (MRI) คืออะไร

เอ็มอาร์ไอ หรือ แมกเนติกเรโซแนนซ์ อิมเมจิ้ง หรือ เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ตรวจดูอวัยวะภายในโดยไม่มีการใส่ส่วนของอุปกรณ์ใด ๆ เข้าไปในร่างกาย (noninvasive equipment) หลักการทำงานของเอ็มอาร์ไอจะอาศัยการทำปฏิกิริยา ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและ คลื่นความถี่วิทยุ กับ อนุภาคโปรตอนที่อยู่ในส่วนประกอบของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด ซึ่งปฏิกิริยานี้จะทำให้ได้สัญญาณภาพ (image signal) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นภาพของอวัยวะภายในโดยระบบคอมพิวเตอร์ แมกเนติกเรโซแนนซ์ อิมเมจิ้ง (MRI) เป็นเครื่องมือปลอดรังสีเอ็กซ์เพราะไม่ใช้รังสีเอ็กซ์ในการสร้างสัญญาณภาพ ของอวัยวะภายใน


เปรียบเทียบ เอ็มอาร์ไอ (MRI) กับ เครื่องเอ็กซ์เรย์  คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (MDCT Scan )

เมื่อดูภายนอกทางด้านหน้า เครื่องมือทั้งสองชนิดจะมีลักษณะคล้ายโดนัทขนาดยัก อุโมงค์ของเอ็มอาร์ไอ (ซ้าย) มักจะลึกกว่าของเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (ขวา) ขณะที่ทำการตรวจ ผู้ป่วยจะต้องนอนบนเตียงตรวจที่สามารถเลื่อนตัวคนไข้เข้าและออกจากอุโมงค์ อุโมงค์ของ เอ็มอาร์ไอมีหลายแบบ เช่น อุโมงค์ที่มีขนาดรวมทั้งอุโมงค์แบบเปิดสำหรับคนไข้ที่กลัวที่แคบ ซึ่งที่ร.พ กรุงเทพก็มีเครื่องมือชนิดนี้สำหรับให้บริการ ผนังของอุโมงค์ของเอ็มอาร์ไอ จะบรรจุแม่เหล็กกำลังสูง (powerful magnet) และ เครื่องส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ (radiofrequency pulse) ส่วนผนังของอุโมงค์ของ เครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง256 สไลด์ (256 Slice Multi Detector CT scanner)  จะบรรจุหลอดเอ็กซ์เรย์ (X-Rays Tube) เครื่องรับสัญญาณเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (MDCT scan )


เอ็มอาร์ไอ ทำงานอย่างไร

เอ็มอาร์ไอ ทำงานได้โดย อาศัยปฎิกิริยาระหว่าง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นความถี่วิทยุ และ อนุภาคโปรตอน ในเนื้อเยื่อของรางกาย โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางเคมีที่เป็นอันตราย เมื่ออานุภาคโปรตอนได้รับพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นความถี่วิทยุ อนุภาคโปรตอนในเนื้อเยื่อแต่ละชนิดก็จะมีการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งสมดุลเดิมไปอยู่ในระนาบที่ตั้งฉากกับแนวแกนของสนามแม่เหล็กกำลังสูง เมื่อการถ่ายเทพลังงานจากแหล่งกำเนิดคลื่นความถี่วิทยุหยุดลง อานุภาคโปรตอนที่ม่พลังงานสูงและกำลังเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งสมดุลเดิมก็จะมีการคายพลังงานออกมาเพื่อกลับสู่สมดุลเดิม พลังงานที่คายออกมาจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสัญญานภาพด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และสร้างเป็นภาพของอวัยวะภายในในที่สุด


ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจ

•    ตรวจหาความปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ และ เยื่อหุ้มหัวใจ
•    ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดเลือดโคโรนารี่ อาร์เทอรี่
•    ตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจเพื่อเพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัด
•    ตรวจวินิจหาความผิดปกติของหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิดทั้งก่อนและหลังการรักษา ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่


ชนิดของการตรวจเอ็มอาร์ไอ หัวใจ

1.     การตรวจเอ็มอาร์ไอ หัวใจ ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี ( Gadolinium contrast)

  • Cardiac perfusion study เป็นการตรวจเพื่อประเมินว่ากล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงเพียงพอกับความต้องการหรือไม่
  • Viability study เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจว่าเกิดจากการขาดเลือดหรือจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะการอักเสบ และ ตรวจหาปริมาณ และ การแผ่ขยาย (expansion) ของกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด และของ กล้ามเนื้อหัวใจที่มีพยาธิสภาพจากโรคอื่น
  • การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งของหัวใจ
  • MR angiography คือการตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) และ แขนง และหลอดเลือดดำใหญ่ (pulmonary artery , superior vena cava , inferior vena cava)

2.    การตรวจเอ็มอาร์ไอ หัวใจ โดยไม่มีการฉีดสารทึบรังสี

  • การตรวจหาความผิดปกติ และ การอุดตันของหลอดเลือด โคโรนารี
  • การตรวจสมรรถภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac function, left ventricular/right ventricular ejection fraction)
  • การตรวจหาความผิดปกติ ของลิ้นหัวใจและความรุนแรงของโรค
  • การการตรวจหาความผิดปกติของหัวใจที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ

3.    การตรวจเอ็มอาร์ไอ หัวใจ โดยร่วมกับการฉีดยาและ การฉีดสารทึบรังสี

  • การตรวจชนิดนี้ได้แก่ MRI stress test การตรวจสมรรถภาพของหลอดเลือดหัวใจในการส่งเลือด ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจขณะหัวใจเกิดความเครียด(stress) โดยการกระตุ้นให้หัวใจเกิดความเครียดโดยการฉีดยา โดบูทามีน (dobutamine) หรือ อดีโนซีน (adenosine) เข้าทางหลอดเลือดดำ

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ

•    งดน้ำและอาหาร4 ชั่วโมงก่อนตรวจ ซึ่งขี้นอยู่กับชนิดของการตรวจ
•    ปลี่ยนเสื้อผ้ามาใส่เสื้อที่แผนกที่ตรวจเตรียมไว้ให้
•    ถอดฟันปลอม เครื่องช่วยฟัง เครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะออกให้หมด และเก็บไว้ในที่เก็บของที่แผนกเตรียมไว้ให้
•    นำเหรียญสตางค์ บัตรเครดิต บัตรเอที่เอ็ม โทรศัพท์ ออกจากตัวให้หมด 
กรณีต้องห้ามสำหรับการตรวจ เอ็มอาร์ไอ หัวใจ คือ สตรีมครรภ์ คนไข้ที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ทำด้วยโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่นเครื่องกระตุ้น และเครื่องกระตุกหัวใจ เครื่องปั๊มอินซูลิน และคนไข้ที่มีอาการกลัวที่แคบ ส่วนที่ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป เช่น คนไข้ที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียมบางชนิด เครื่องกระตุ้นเส้นประสาท คนไข้ที่ใส่ขดลวดดามหลอดเลือด (stent) 


ขั้นตอนการตรวจเอ็มอาร์ไอ

  • ผู้ป่วยจะได้รับการอธิบายขั้นตอนการตรวจก่อนการตรวจ
  • เมื่อผู้ป่วยตกลงใจที่จะทำการตรวจก็ให้ผู้ป่วยลงชื่อในใบเซ็นยินยอมเพื่อรับการตรวจ
  • ให้คนไข้นอนหงายบนเตียงตรวจ จัดท่าคนไข้ให้ถูกต้องตามมาตรฐานการตรวจ ติดแถบมัดตัวคนไข้เพื่อไม่ให้คนไข้เคลื่อนไหวออกจากตำแหน่ง
    • ติดสายตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่หน้าอกด้านซ้ายของคนไข้ ติดสายวัดการหายใจที่หน้าท้องของ คนไข้ และเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
    • แจ้งให้คนไข้ทราบว่าระหว่างการตรวจ อาจขอให้ คนไข้กลั้นหายใจหลายครั้งประมาณครั้งละ 15-20 วินาที คนไข้จะได้รับการฝีกการกลั้นหายใจก่อนการตรวจ
    • ผู้ป่วยที่ทำการตรวจเอ็มอาร์ไอ ชนิดที่ต้องฉีดสารทึบรังสี และ ฉีดยาจะได้รับการเปิดเส้นเลือดดำสำหรับฉีดสารทึบรังสีและ/หรือยา
    • ผู้ป่วยที่ทำการตรวจเอ็มอาร์ไอ ชนิดที่ต้องฉีดสารทึบรังสี จะได้รับการแจ้งให้เจาะเลือดตรวจหน้าที่ของไตก่อนพิจารณาฉีดสารทีบรังสี

การตรวจใช้เวลานานแค่ไหน

โดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 45-90 นาที 


อะไรเกิดขึ้นบ้างในระหว่างการตรวจ

•    โดยส่วนมากการตรวจเอ็มอาร์ไอ คนไข้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด
•    คนไข้บางคนอาจรู้สึกไม่สุขสบายขณะรับการตรวจ เนื่องจากต้องนอนอยู่ในอุโมงค์ที่แคบ และมีเสียงดังจากการปล่อยคลื่นความถี่วิทยุ แต่สามารถลดความดังได้ด้วยการให้คนไข้ใส่โฟมอุดหู
•    คนไข้บางคนอาจขมคอเมื่อได้รับการฉีดสารเปรียบต่าง (gadolinium contrast) 
•    หลังจากตรวจเสร็จผู้ป่วยสามารถดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ ยกเว้นผู้ป่วยที่ได้รับยานอนหลับ หรือ ยาสลบ ต้องให้ผู้ป่วยพักฟื้นจนกว่าจะรู้สติสัมปชัญญะ


ความเสี่ยงต่ออันตรายจากการตรวจเอ็มอาร์ไอ

•    ความเสี่ยงต่ออันตรายจากการตรวจเอ็มอาร์ไอโดยปกติไม่มีความเสี่ยงสำหรับการตรวจทั่วไป ยกเว้นการตรวจ เอ็มอาร์ไอ stress test ที่อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตรวจ เช่น อาจมีอาการเจ็บหน้าอก หรือ หัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นอาการแสดงที่บอกว่ามีหลอดเลือดโคโรนารีอุดตัน
•    ความเสี่ยงต่อการเกิดพังผืดของเนื้อเยื่อไตจากการใช้ gadolinium contrast โดยเฉพาะในคนที่มีความเสื่อมของไต


ข้อจำกัดของเอ็มอาร์ไอ

•    คนไข้ไม่สามารถจะนอนไม่เคลื่อนไหวตลอดการตรวจได้
•    คนไข้ไม่สามารถจะกลั้นใจนิ่งหลายครั้งได้
•    คนไข้ตัวใหญ่ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ได้
•    จังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอมีผลต่อคุณภาพของภาพ
•    การตรวจวินิจฉัยโรคโดยใช้เอ็มอาร์ไอใช้เวลานานกว่า และ ราคาแพงกว่า การตรวจโดยเครื่องมืออื่น

 

แหล่งที่มา :

Magnetic Resonance Imaging (MRI)

 

เอ็มอาร์ไอ (MRI) คืออะไร

เอ็มอาร์ไอ หรือ แมกเนติกเรโซแนนซ์ อิมเมจิ้ง หรือ เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ตรวจดูอวัยวะภายในโดยไม่มีการใส่ส่วนของอุปกรณ์ใด ๆ เข้าไปในร่างกาย (noninvasive equipment) หลักการทำงานของเอ็มอาร์ไอจะอาศัยการทำปฏิกิริยา ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและ คลื่นความถี่วิทยุ กับ อนุภาคโปรตอนที่อยู่ในส่วนประกอบของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด ซึ่งปฏิกิริยานี้จะทำให้ได้สัญญาณภาพ (image signal) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นภาพของอวัยวะภายในโดยระบบคอมพิวเตอร์ แมกเนติกเรโซแนนซ์ อิมเมจิ้ง (MRI) เป็นเครื่องมือปลอดรังสีเอ็กซ์เพราะไม่ใช้รังสีเอ็กซ์ในการสร้างสัญญาณภาพ ของอวัยวะภายใน


เปรียบเทียบ เอ็มอาร์ไอ (MRI) กับ เครื่องเอ็กซ์เรย์  คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (MDCT Scan )

เมื่อดูภายนอกทางด้านหน้า เครื่องมือทั้งสองชนิดจะมีลักษณะคล้ายโดนัทขนาดยัก อุโมงค์ของเอ็มอาร์ไอ (ซ้าย) มักจะลึกกว่าของเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (ขวา) ขณะที่ทำการตรวจ ผู้ป่วยจะต้องนอนบนเตียงตรวจที่สามารถเลื่อนตัวคนไข้เข้าและออกจากอุโมงค์ อุโมงค์ของ เอ็มอาร์ไอมีหลายแบบ เช่น อุโมงค์ที่มีขนาดรวมทั้งอุโมงค์แบบเปิดสำหรับคนไข้ที่กลัวที่แคบ ซึ่งที่ร.พ กรุงเทพก็มีเครื่องมือชนิดนี้สำหรับให้บริการ ผนังของอุโมงค์ของเอ็มอาร์ไอ จะบรรจุแม่เหล็กกำลังสูง (powerful magnet) และ เครื่องส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ (radiofrequency pulse) ส่วนผนังของอุโมงค์ของ เครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง256 สไลด์ (256 Slice Multi Detector CT scanner)  จะบรรจุหลอดเอ็กซ์เรย์ (X-Rays Tube) เครื่องรับสัญญาณเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (MDCT scan )


เอ็มอาร์ไอ ทำงานอย่างไร

เอ็มอาร์ไอ ทำงานได้โดย อาศัยปฎิกิริยาระหว่าง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นความถี่วิทยุ และ อนุภาคโปรตอน ในเนื้อเยื่อของรางกาย โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางเคมีที่เป็นอันตราย เมื่ออานุภาคโปรตอนได้รับพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นความถี่วิทยุ อนุภาคโปรตอนในเนื้อเยื่อแต่ละชนิดก็จะมีการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งสมดุลเดิมไปอยู่ในระนาบที่ตั้งฉากกับแนวแกนของสนามแม่เหล็กกำลังสูง เมื่อการถ่ายเทพลังงานจากแหล่งกำเนิดคลื่นความถี่วิทยุหยุดลง อานุภาคโปรตอนที่ม่พลังงานสูงและกำลังเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งสมดุลเดิมก็จะมีการคายพลังงานออกมาเพื่อกลับสู่สมดุลเดิม พลังงานที่คายออกมาจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสัญญานภาพด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และสร้างเป็นภาพของอวัยวะภายในในที่สุด


ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจ

•    ตรวจหาความปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ และ เยื่อหุ้มหัวใจ
•    ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดเลือดโคโรนารี่ อาร์เทอรี่
•    ตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจเพื่อเพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัด
•    ตรวจวินิจหาความผิดปกติของหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิดทั้งก่อนและหลังการรักษา ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่


ชนิดของการตรวจเอ็มอาร์ไอ หัวใจ

1.     การตรวจเอ็มอาร์ไอ หัวใจ ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี ( Gadolinium contrast)

  • Cardiac perfusion study เป็นการตรวจเพื่อประเมินว่ากล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงเพียงพอกับความต้องการหรือไม่
  • Viability study เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจว่าเกิดจากการขาดเลือดหรือจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะการอักเสบ และ ตรวจหาปริมาณ และ การแผ่ขยาย (expansion) ของกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด และของ กล้ามเนื้อหัวใจที่มีพยาธิสภาพจากโรคอื่น
  • การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งของหัวใจ
  • MR angiography คือการตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) และ แขนง และหลอดเลือดดำใหญ่ (pulmonary artery , superior vena cava , inferior vena cava)

2.    การตรวจเอ็มอาร์ไอ หัวใจ โดยไม่มีการฉีดสารทึบรังสี

  • การตรวจหาความผิดปกติ และ การอุดตันของหลอดเลือด โคโรนารี
  • การตรวจสมรรถภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac function, left ventricular/right ventricular ejection fraction)
  • การตรวจหาความผิดปกติ ของลิ้นหัวใจและความรุนแรงของโรค
  • การการตรวจหาความผิดปกติของหัวใจที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ

3.    การตรวจเอ็มอาร์ไอ หัวใจ โดยร่วมกับการฉีดยาและ การฉีดสารทึบรังสี

  • การตรวจชนิดนี้ได้แก่ MRI stress test การตรวจสมรรถภาพของหลอดเลือดหัวใจในการส่งเลือด ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจขณะหัวใจเกิดความเครียด(stress) โดยการกระตุ้นให้หัวใจเกิดความเครียดโดยการฉีดยา โดบูทามีน (dobutamine) หรือ อดีโนซีน (adenosine) เข้าทางหลอดเลือดดำ

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ

•    งดน้ำและอาหาร4 ชั่วโมงก่อนตรวจ ซึ่งขี้นอยู่กับชนิดของการตรวจ
•    ปลี่ยนเสื้อผ้ามาใส่เสื้อที่แผนกที่ตรวจเตรียมไว้ให้
•    ถอดฟันปลอม เครื่องช่วยฟัง เครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะออกให้หมด และเก็บไว้ในที่เก็บของที่แผนกเตรียมไว้ให้
•    นำเหรียญสตางค์ บัตรเครดิต บัตรเอที่เอ็ม โทรศัพท์ ออกจากตัวให้หมด 
กรณีต้องห้ามสำหรับการตรวจ เอ็มอาร์ไอ หัวใจ คือ สตรีมครรภ์ คนไข้ที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ทำด้วยโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่นเครื่องกระตุ้น และเครื่องกระตุกหัวใจ เครื่องปั๊มอินซูลิน และคนไข้ที่มีอาการกลัวที่แคบ ส่วนที่ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป เช่น คนไข้ที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียมบางชนิด เครื่องกระตุ้นเส้นประสาท คนไข้ที่ใส่ขดลวดดามหลอดเลือด (stent) 


ขั้นตอนการตรวจเอ็มอาร์ไอ

  • ผู้ป่วยจะได้รับการอธิบายขั้นตอนการตรวจก่อนการตรวจ
  • เมื่อผู้ป่วยตกลงใจที่จะทำการตรวจก็ให้ผู้ป่วยลงชื่อในใบเซ็นยินยอมเพื่อรับการตรวจ
  • ให้คนไข้นอนหงายบนเตียงตรวจ จัดท่าคนไข้ให้ถูกต้องตามมาตรฐานการตรวจ ติดแถบมัดตัวคนไข้เพื่อไม่ให้คนไข้เคลื่อนไหวออกจากตำแหน่ง
    • ติดสายตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่หน้าอกด้านซ้ายของคนไข้ ติดสายวัดการหายใจที่หน้าท้องของ คนไข้ และเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
    • แจ้งให้คนไข้ทราบว่าระหว่างการตรวจ อาจขอให้ คนไข้กลั้นหายใจหลายครั้งประมาณครั้งละ 15-20 วินาที คนไข้จะได้รับการฝีกการกลั้นหายใจก่อนการตรวจ
    • ผู้ป่วยที่ทำการตรวจเอ็มอาร์ไอ ชนิดที่ต้องฉีดสารทึบรังสี และ ฉีดยาจะได้รับการเปิดเส้นเลือดดำสำหรับฉีดสารทึบรังสีและ/หรือยา
    • ผู้ป่วยที่ทำการตรวจเอ็มอาร์ไอ ชนิดที่ต้องฉีดสารทึบรังสี จะได้รับการแจ้งให้เจาะเลือดตรวจหน้าที่ของไตก่อนพิจารณาฉีดสารทีบรังสี

การตรวจใช้เวลานานแค่ไหน

โดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 45-90 นาที 


อะไรเกิดขึ้นบ้างในระหว่างการตรวจ

•    โดยส่วนมากการตรวจเอ็มอาร์ไอ คนไข้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด
•    คนไข้บางคนอาจรู้สึกไม่สุขสบายขณะรับการตรวจ เนื่องจากต้องนอนอยู่ในอุโมงค์ที่แคบ และมีเสียงดังจากการปล่อยคลื่นความถี่วิทยุ แต่สามารถลดความดังได้ด้วยการให้คนไข้ใส่โฟมอุดหู
•    คนไข้บางคนอาจขมคอเมื่อได้รับการฉีดสารเปรียบต่าง (gadolinium contrast) 
•    หลังจากตรวจเสร็จผู้ป่วยสามารถดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ ยกเว้นผู้ป่วยที่ได้รับยานอนหลับ หรือ ยาสลบ ต้องให้ผู้ป่วยพักฟื้นจนกว่าจะรู้สติสัมปชัญญะ


ความเสี่ยงต่ออันตรายจากการตรวจเอ็มอาร์ไอ

•    ความเสี่ยงต่ออันตรายจากการตรวจเอ็มอาร์ไอโดยปกติไม่มีความเสี่ยงสำหรับการตรวจทั่วไป ยกเว้นการตรวจ เอ็มอาร์ไอ stress test ที่อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตรวจ เช่น อาจมีอาการเจ็บหน้าอก หรือ หัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นอาการแสดงที่บอกว่ามีหลอดเลือดโคโรนารีอุดตัน
•    ความเสี่ยงต่อการเกิดพังผืดของเนื้อเยื่อไตจากการใช้ gadolinium contrast โดยเฉพาะในคนที่มีความเสื่อมของไต


ข้อจำกัดของเอ็มอาร์ไอ

•    คนไข้ไม่สามารถจะนอนไม่เคลื่อนไหวตลอดการตรวจได้
•    คนไข้ไม่สามารถจะกลั้นใจนิ่งหลายครั้งได้
•    คนไข้ตัวใหญ่ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ได้
•    จังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอมีผลต่อคุณภาพของภาพ
•    การตรวจวินิจฉัยโรคโดยใช้เอ็มอาร์ไอใช้เวลานานกว่า และ ราคาแพงกว่า การตรวจโดยเครื่องมืออื่น